วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สรุปการเรียนการสอน

1.สื่อการสอน
***ความหมายของสื่อการสอน ***
สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้
ที่มา : http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php
***ประโยชน์ของสื่อการสอน ***
1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้
· ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
· ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น
· ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
· ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง
· ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น
· นำอดีตมาศึกษาได้
· นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น
ที่มา : http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php


***การออกแบบสื่อการสอน ***
การออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน
**ลักษณะการออกแบบที่ดี (Charecteristics of Good Design) **
1. ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการทำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น
**หลักการออกแบบสื่อ**
1.ในการเรียนการสอนครั้งหนึ่ง ๆ ต้องพิจารณาเลือกเฉพาะพฤติกรรมที่เป็นจุดเด่นของการเรียนการสอนนั้นมาเป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อ
2.ลักษณะของผู้เรียน ใช้ลักษณะของผู้เรียนในกลุ่มหลัก เป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อก่อน หากจำเป็นจึงค่อยพิจารณาสื่อเฉพาะ
สำหรับผู้เรียนในกลุ่มพิเศษต่อไป
3.ลักษณะแวดล้อมของการผลิตสื่อ ได้แก่
ก. ลักษณะกิจกรรมการเรียน ซึ่งครูอาจจัดได้หลายรูปแบบ เช่น
-การสอนกลุ่มใหญ่ ในลักษณะของการบรรยาย การสาธิต
-การสอนกลุ่มเล็ก
-การสอนเป็นรายบุคคล
กิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละลักษณะย่อมต้องการสื่อต่างประเภท ต่างขนาด เช่น สื่อประเภทสไลด์ ภาพยนตร์มีความเหมาะสมกับการเรียนในลักษณะกลุ่มใหญ่ วีดีโอ ภาพขนาดกลาง เหมาะกับการสอนกลุ่มเล็ก ส่วนสื่อสำหรับรายบุคคลจะต้องในลักษณะเฉพาะตัวที่จะเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ และวัดผลด้วยตนเอง
ข. สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้สื่อ ได้แก่ไฟฟ้าเป็นองค์ประกอบสำคัญการออกแบบสื่อสำหรับโรงเรียน หรือท้องถิ่นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ย่อมต้องหลีกเลี่ยงสื่อวัสดุฉาย
ค. วัสดุพื้นบ้าน หรือวัสดุท้องถิ่น นากจากจะหาใช้ได้ง่ายแล้วยังจะช่วยให้ผู้เรียนได้มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับสภาพจริงในชีวิตประจำวันได้ดีกว่าอีกด้วย ดังรั้นสื่อเพื่อการสอนบรรลุเป้าหมายเดียวกัน อาจจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพของวัสดุพื้นบ้าน
4.ลักษณะของสื่อ ในการออกแบบและผลิตสื่อ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตต้องมีความรู้เกี่ยวกับสื่อในเรื่องต่อไปนี้
ก. ลักษณะเฉพาะตัวของสื่อ สื่อบางชนิดมีความเหมาะสมกับผู้เรียนบางระดับ หรือเหมาะกับจำนวนผู้เรียนที่แตกต่างกัน เช่น แผนภาพจะใช้กับผู้เรียนที่มีพื้นฐานหรือประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ มาก่อน ภาพการ์ตูนเหมาะสมกับเด็กประถมศึกษา ภาพยนตร์เหมาะกับผู้เรียนที่เป็นกลุ่มใหญ่ วิทยุเหมาะกับการสอนมวลชน ฯลฯ
ข. ขนาดมาตรฐานของสื่อ แม้ว่ายังไม่มีการกำหนดเป็นตัวเลขที่แน่นอน แต่ก็ถือเอาขนาดขั้นต่ำที่สามารถจะมองเห็นได้ชัดเจน และทั่วถึงเป็นเกณฑ์ในการผลิตสื่อ ส่วนสื่อวัสดุฉายจะต้องได้รับการเตรียมต้นฉบับให้พอดีที่จะไม่เกิดปัญหาในขณะถ่ายทำหรือมองเห็นรายละเอียดภายในชัดเจน เมื่อถ่ายทำขึ้นเป็นสื่อแล้ว การกำหนดขนาดของต้นฉบับให้ถือหลัก 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ
-การวาดภาพและการเขียนตัวหนังสือได้สะดวก
-การเก็บรักษาต้นฉบับทำได้สะดวก
-สัดส่วนของความกว้างยาวเป็นไปตามชนิดของวัสดุฉาย องค์ประกอบของการออกแบบ
1.จุด ( Dots )
2.เส้น ( Line )
3.รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form )
4.ปริมาตร ( Volume )
5.ลักษณะพื้นผิว ( Texture )
6.บริเวณว่าง ( Space )
7.สี ( Color )
8.น้ำหนักสื่อ ( Value )
ที่มา : http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl
***การใช้สื่อการสอน ***
1. ใช้สื่อการสอนในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทั้งนี้เพื่อเร้าผู้เรียนให้เกิดความสนใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมในเบื้องต้น โดยปรับตนเองให้พร้อมที่จะเรียนรู้บทเรียนใหม่ ซึ่งอาจกระทำได้โดยการรื้อฟื้นความรู้เดิม (assimilation) หรือขยายความรู้เดิม (accommodation) เพื่อนำมาใช้ให้ประสานกันกับความรู้ใหม่ ซึ่งจะเรียนในขั้นต่อไป
2. ใช้สื่อการสอนในขั้นประกอบการสอนหรือขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ความกระจ่างในเนื้อหาที่เรียนหรือทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและเข้าใจข้อเท็จจริงในเนื้อหาอย่างแท้จริงในรูปของการเกิด Concept เข้าใจหลักการสำคัญ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้
3. ใช้สื่อการสอนเพื่อขยายขอบเขตความรู้ของผู้เรียนให้ก้าวหน้าและเจริญงอกงามทั้งในด้านความกว้างและความลึกของภูมิปัญญา ซึ่งเป็นผลของการเรียนอย่างแท้จริง
4. ใช้สื่อการสอนเพื่อย่อสรุปเนื้อหาสำคัญของบทเรียนเกิดเป็น Concept ในเนื้อหาแต่ละเรื่อง
ใช้สื่อการสอนเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีการฝึกและพัฒนาตนเองให้รู้จักขั้นตอนและมีความคิดสร้างสรรค์ (Control and Creativity)

***การติดตามและประเมินผลการใช่สื่อการสอน ***
โนเอล และ ริโอนาร์ด ได้ให้หลักเกณฑ์ในการติดตามและประเมินผลการใช้สื่อดังนี้ ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อติดตามผล ดังนี้
1. ร่วมกันอภิปรายเนื้อหาที่สำคัญ ในระหว่างการใช้โสตทัศนูปกรณ์
2. ร่วมกันทำความเข้าใจเนื้อหาที่ยังไม่เข้าใจ
3. ครูอธิบายความคิดรวบยอดให้เด็กเข้าใจได้ชัดเจน
4. ร่วมกันจัดกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้
5. ร่วมกันวางแผนในการนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาอื่น ๆ หรือการเรียนในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
6. ผู้สอนสำรวจดูว่าการใช้สื่อการสอนได้บรรลุตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ อาจทำได้ดังนี้
· ผู้สอนวิจารณ์ผลการเรียนโดยใช้สื่อการสอน· ผู้สอนอาจใช้แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่การทดสอบนั้นต้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมาย เช่น ถ้าต้องการทราบความเข้าใจก็ต้องออกแบบทดสอบวัดความเข้าใจ
· ไม่ควรใช้แบบทดสอบความจำ และไม่ควรใช้แบบทดสอบที่มีความซับซ้อนจนเกินไปเอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale) ให้ผู้ใช้ประเมินผลการใช้สื่อการสอนจากคำถามที่ว่า สื่อการสอนเหล่านั้นมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้หรือไม่ เพียงไร
· ให้ภาพพจน์ที่แท้จริงในการสอน
· ให้เนื้อหาวิชาตรงตามจุดมุ่งหมาย
· เหมาะสมกับวัย สติปัญญา และประสบการณ์ของผู้เรียน
· สภาพรูปร่าง และลักษณะของโสตทัศนวัสดุเหล่านั้นเป็นที่พอใจ
· มีผู้ให้คำแนะนำแก่ครูในการใช้โสตทัศนวัสดุเหล่านั้นให้ได้ประโยชน์
· ช่วยในการสร้างมนุษยสัมพันธ์
· ช่วยให้นักเรียนใช้ความคิดพิจารณา
· ให้ผลคุ้มค่ากับเวลา ค่าใช้จ่าย และความพยายามที่ได้ทำไป


2. การออกแบบสื่อวัสดุกราฟิก
***การออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน
***"ลักษณะการออกแบบที่ดี" (Characteristics of Good Design)***
1. ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการมำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น
***"องค์ประกอบของการออกแบบ "***
1. จุด ( Dots )
2. เส้น ( Line )
3. รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form )
4. ปริมาตร ( Volume )
5. ลักษณะพื้นผิว ( Texture )
6.บริเวณว่าง ( Space )
7. สี ( Color )
8. น้ำหนักสื่อ ( Value )
**ภาพตัวอย่างสื่อวัสดุกราฟิก 5 ชิ้น**
สื่อวัสดุกราฟิกประเภทการ์ตูน

สื่อวัสดุกราฟิกประเภทแผนที่และลูกโลก

สื่อวัสดุกราฟิกประเภทสัญลักษณ์


สื่อวัสดุกราฟิกประเภทภาพโฆษณา


สื่อวัสดุกราฟิกประเภทรูปภาพ

ที่มา : http://www.edu.nu.ac.th/wbi/355201/graphic_material/graphic_material.htm

***ประเภทวัสดุกราฟิก ***
ในหนังสือ Audiovisual Materials ซึ่งเขียนโดย Wittich & Schuller ได้แบ่งประเภทวัสดุกราฟิกไว้ดังนี้
1. แผนสถิติ (Graphs) แบ่งออกเป็น
1.1 แผนสถิติแบบเส้น (Line Graphs)
1.2 แผนสถิติแบบแท่ง (Bar Graphs)
1.3 แผนสถิติแบบวงกลม (Circle or Pie Graphs)
1.4 แผนสถิติแบบรูปภาพ (Pictorial Graphs)
1.5 แผนสถิติแบบพื้นที่ (Area and Solid Figure Graphs)
2. แผนภาพ (Diagrams)
3. แผนภูมิ (Charts)
3.1 แผนภูมิแบบต้นไม้ (Tree Charts)
3.2 แผนภูมิแบบสายน้ำ (Stream Charts)
3.3 แผนภูมิแบบองค์การ (Organization Charts)
3.4 แผนภูมิแบบต่อเนื่อง (Flow Charts)
3.5 แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ (Comparision Charts)
3.6 แผนภูมิแบบตาราง (Tabular Charts)
3.7 แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ (Experience Charts)
3.8 แผนภูมิแบบอธิบายภาพ (Achivement Charts)
4. ภาพโฆษณา (Posters)
5. การ์ตูน (Cartoon)
6. ภาพวาด (Drawing)
7. ภาพถ่าย (Photography)
8. ภาพพิมพ์ (Printing)
9. สัญลักษณ์ (Symbols)

*การออกแบบงานกราฟิก*

...ความหมาย...
การออกแบบ หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดหรือ จินตนาการออกมาเป็นรูปแบบต่างๆ
ทำให้เราสามารถรับรู้ด้วยประสาท สัมผัส ซึ่งอาจเป็นทางตา หู ผิวสัมผัส รส กลิ่นก็ได้
- การออกแบบ เกิดจากพื้นฐานทางความคิดและ ทางทัศนการสื่อสาร(visual communication)
- การออกแบบเป็นการรักษาสมดุลระหว่างพลังการแสดงออกหรือพลัง ความคิดสร้างสรรค์เฉพาะบุคคล
กับความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย
การออกแบบเป็นเรื่องของมนุษย์โดยตรง สัตว์อื่นๆไม่สามารถออกแบบได้ นอกจาก การสร้างงานด้วยสัญชาติญาณเท่านั้น
มนุษย์มีการออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การออกแบบมีมาพร้อมๆกับการเกิดของมนุษย์
ตั้งแต่อดีต จนปัจจุบัน และตั้งแต่เกิดจนตาย
1. เพื่อความสะดวกสบายและตอบสนองความต้องการของมนุษย์
2. เพื่อการสร้างสรรค์และแสดงคุณค่าของผลงาน
3. เพื่อการวางแผนในเชิงทรัพยากรหรือการลดต้นทุน
4. เพื่อการประหยัดเวลาในการนำเสนอข่าวสาร
5. เพื่อประสิทธิภาพในการสื่อสารให้ผู้รับเข้าใจได้อย่างถูกต้อง
1. มีความรู้ความสามารถและทักษะในการออกแบบ
2. เข้ากระบวนการใช้งานออกแบบได้อย่างเหมาะสม
3. มีวิธีนำเสนอผลงานได้อย่างสร้างสรรค์และโดดเด่น
4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
5. สามารถประยุกต์ใช้จิตวิทยาการรับรู้ได้อย่างดี
หนังสือ นิตยสาร วารสาร
ป้ายโฆษณา โปสเตอร์ แผ่นพับใบปลิว
ผลิตภัณฑ์ ภาพยนตร์
บรรจุภัณฑ์ งานตกแต่ง เว็บไซต์
•ตัวอักษร(typographic)
•สัญลักษณ์(symbol)
•ภาพประกอบ(illustrator)
•ภาพถ่าย(photography)
การออกแบบ เป็นการใช้กระบวนการคิดแบบ จินตนาการ อิสระ และสร้างสรรค์การวางแผน
เป็นการใช้ความคิดเป็นขั้นตอน ที่จะนำไปสู่รูปแบบของจินตนาการ
1. พิจารณาเนื้อหา
2. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
3. วิเคราะห์จุดมุ่งหมายของแต่ละงาน
4. จัดองค์ประกอบให้เหมาะสมกับข้อ1,2,และ3

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สื่อวัสดุกราฟิก

....ความหมาย" กราฟิก " ( Graphic ) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึงการเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำ และคำว่า " Graphein " มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น เมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกันวัสดุกราฟิกจะหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกัน ภาพวาดอาจจะเป็น แผนภาพ ( Diagram ) ภาพสเก็ต ( Sketch ) หรือแผนสถิติ ( Graph ) หรืออาจเป็นคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง ( Title ) คำอธิบายเพิ่มเติมของแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ และภาพโฆษณา อาจวาดเป็นการ์ตูนในรูปแบบหรือประเภทต่างๆ ภาพสเก็ต สัญลักษณ์ และภาพถ่าย สามารถใช้เป็นวัสดุกราฟิกเพื่อสื่อความหมายในเรื่องราวที่แสดงข้อเท็จจริงต่าง ๆได้....

.....ประโยชน์ของวัสดุกราฟิก วัสดุกราฟิกต่าง ๆ ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ดังต่อไปนี้

1. ใช้เป็นสื่อประกอบการสอนได้ทุกวิชา โดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและระดับของผู้เรียน
2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้รวดเร็วกว่าใช้คำพูด ทำให้ประหยัดเวลาในการสอน
3. ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ มีส่วนร่วมและอยากเรียน
4. ใช้ในการโน้มน้าวจิตใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น ภาพโฆษณา การโฆษณาสินค้า
5. ใช้ในการจัดแสดงผลงาน หรือจัดนิทรรศการ
6. ใช้ในด้านเผยแพร่กิจกรรม การประชาสัมพันธ์ของทุกหน่วยงาน
7. ใช้ในการสร้างสรรค์ เปลี่ยนแปลงเจตคติ และสร้างความเข้าใจอันดีภายในและภายนอกองค์กร

การใช้สีกับสื่อการเรียนการสอน

.....สี (Colors) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการออกแบบสื่อสองมิติ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการออกแบบหน้าจอแสดงผล เพราะนอกเหนือไปจากให้ความสวยงามให้ความเหมือนจริงของสิ่งที่อยู่ภายในภาพแล้ว สียังช่วยชี้ให้เห็นถึงความคล้ายคลึง ความแตกต่าง และความสำคัญได้อย่างชัดเจน ในแง่มุมของจิตวิทยา สีสามารถให้ความรู้สึกทางอารมณ์กับผู้ดู(ผู้เรียน) ดังนี้
..สีแดง.. เป็นสีที่เด่นสะดุดตาเหมาะสำหรับการเน้นความสำคัญของส่วนต่าง ๆ เนื่องจากสีแดงเป็นสีที่แสดงออกถึงการแข่งขัน ความตื่นเต้น ภัยอันตราย ความกล้าหาญและอำนาจการใช้สีแดงจัดจ้านในเนื้อที่กว้าง ๆ จะมีผลทำให้ผู้เรียนสายตาอ่อนล้าเมื่อจ้องมองภาพนาน ๆ
..สีน้ำเงิน.. เป็นสีที่บอกถึงความปลอดภัย สงบเยือกเย็น ความมั่นใจ ความรอบรู้ มีน้ำใจ มีคุณธรรม และความกลมเกลียวเป็นสีที่ให้ความรู้สึกที่ตรงข้ามกับสีแดง แต่ถ้าลดความเข้มของสีน้ำเงินจะทำให้มีบรรยากาศร่าเริงแจ่มใสขึ้น
..สีเขียว.. ให้ความรู้สึกร้อนและเย็นใจขณะเดียวกัน สีเขียวแก่จะให้อารมณ์ที่สงบ ปลอดภัย ร่มเย็น ขณะที่สีเขียวอ่อนจะแสดงถึงความอบอุ่น กระฉับกระเฉง ร่าเริง ในด้านการสื่อความหมายมักนำสีเขียวมาเป็นสัญลักษณ์ของธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ความสมบูรณ์ และการเจริญเติบโต ส่วนของการออกแบบหน้าจอมักไม่นิยมสีเขียวควบคู่กับสีแดงในสัดส่วนเท่า ๆ กัน เพราะเป็นสีที่ตัดกันรุนแรงทำให้ผู้เรียนต้องใช้สายตามาก
..สีเหลือง.. เป็นสัญลักษณ์ของความสดใส ร่าเริง สง่างาม และความสุข ความสว่างของสีเหลืองทำให้ดูโดดเด่น ผู้ผลิตสามารถนำสีเหลืองมาใช้ร่วมกับสีเข้ม เช่น สีดำ เทา หรือสีน้ำเงินเข้ม จะทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นขึ้น
..สีม่วง.. ให้ความรู้สึกลึกลับ สงบ คล้ายกับสีน้ำเงินแก่ แต่เนื่องจากสีม่วงยังมีความตื่นเต้นของสีแดงเจืออยู่ บางครั้ง ทำให้ดูหรูหรา สง่างาม โดยทั่วไปจะสีม่วงเป็นสัญลักษณ์ของจิตวิญญาณและปัญญา
..สีน้ำตาล.. ให้ความรู้สึกเรียบง่าย ทนทาน มั่นคง มักใช้เน้นวัตถุกับความเก่าแก่โบราณ บางครั้งจะใช้กับอารมณ์ที่ซึมเศร้า หดหู่ เบื่อหน่าย ในด้านของการสื่อความหมายด้วยภาพจะใช้กับบรรยากาศที่แห้งแล้ง น่าสะพรึงกลัว
..สีดำ.. แสดงให้เห็นถึงความลึกลับ ซับซ้อน ความน่ากลัวความทุกข์ และความตาย สีดำเมื่อนำมาใช้กับสีอื่น ๆ จะให้ความสวยงามและความรู้สึกทางอารมณ์ได้เป็นอย่างดี เช่นสีดำใช้คู่กับสีขาวในสัดส่วนที่สมดุลของความสว่างของสีที่เท่า ๆ กัน อาจแสดงถึงความรอบคอบและมั่นคง เป็นต้น
..สีเทา.. เป็นสีกลาง ๆ ที่แสดงถึงความสุภาพ สุขุม สีเทาเป็นสีที่ไม่มีความเด่นเฉพาะตัวเหมือนสีแดงหรือสีน้ำเงิน ดังนั้น เมื่อนำสีเทาไปใช้คู่กับสีอื่น ๆ ความรู้สึกของผู้เรียนจะแตกต่างกันตามอิทธิพลของสีใกล้เคียง เช่น สีเทาคู่กับสีม่วงจะให้ความสง่างาม มั่นคง
..สีขาว.. เป็นสีที่คู่กับสีอื่น ๆ ได้ดี สีขาวช่วยให้ภาพหรือข้อความมีความโดดเด่น สามารถนำมาเป็นจุดเน้นเพื่อนำสู่เป้าหมายที่ต้องการได้ดี ในด้านของอารมณ์สีขาวเป็นสีที่ให้ความรู้สึกบริสุทธิ์ สดใส ความอ่อนเยาว์

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550

เนื้อหาการเรียนการสอนโปรแกรม Microsoft powerpoint & Photoshop

***สรุปเนื้อหาที่อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่อง
Microsoft Powerpoint & Photoshop
***

**Desktop คือ พื้นโต๊ะเรียนหรือโต๊ะทำงาน ไว้วางวัตถุต่างๆ เช่น Icon ต่างๆ
**Icon คือ สัญลักษณ์(ที่สามารถเปลี่ยนได้) แต่ symbol เป็นสัญลักษณ์(ที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้)
**Shortcut คือ ทางลัด
***การเข้าสู่เมนู Microsoft office และเมนูย่อยต่างๆ
*วิธีที่ 1 *
1. คลิกซ้ายที่ Start
2. Programs
3. Microsoft office
4. โปรแกรมย่อยต่างๆ
*วิธีที่ 2 *
1. คลิกขวาที่ start
2. Explore
3. program files (อยู่ใน C:)
4. Microsoft office
5. OFFICE 11
6. โปรแกรมย่อยต่างๆ
C : เป็นโปรแกรมที่สั่งการในคอมพิวเตอร์ เมื่อ Window มีปัญหาจะล้าง C : (ล้าง Window) เพราะฉะนั้นไม่ควรเก็บข้อมูลไว้ใน C : หรือ My Document เพราะเป็นแค่ไฟล์ชั่วคราวของ C : ควรนำไปเก็บไว้ที่D : หรือ E :
*วิธีที่ 3 *
1. My Computer
2. เลือก C :
3. Program files
4. program files (อยู่ใน C:)
5. Microsoft office
6. OFFICE 11
7. โปรแกรมย่อยต่างๆ
*วิธีที่ 4 *
1. Start
2. Programs
3. Microsoft powerpoint
4. คลิกขวา
5. send to
6. Desktop
*วิธีที่ 5 *
1. Start
2. Programs
3. Microsoft shortcut(จะมีถ้าลงโปรแกรมสมบูรณ์)
**การลบกล่องข้อความ ทำได้ดังนี้ Ctrl A+ Delete
แสดงเส้นบอกแนว เลือกแถบเมนู “ มุมมอง ” เลือกใส่เครื่องหมายถูกในช่องที่ให้เลือกเป็นช่องสุดท้าย แล้วกด “ ตกลง ”
**การเพิ่มจำนวนสไลด์ใน Microsoft Powerpoint ทำได้ดังนี้ Ctrl C ,V
**การเพิ่มจำนวนสไลด์ 1 เท่าตัวใน Microsoft Powerpoint ทำได้ดังนี้ Ctrl A - Ctrl C,V เช่น จาก 20 สไลด์ เป็น 40 สไลด์
**การลบสไลด์ ตัวอย่างเช่น 11-60 มีวิธีดังนี้ ลากแถบสีดำตั้งแต่ 11-60 แล้วกด Delete
**การเลือกบางสไลด์ คลิกซ้ายเลือกสไลด์ที่ต้องการลบ แล้วกด Ctrl คลิกซ้ายเลือก แล้วกดDelete
***Photoshop ***
Adobe Photoshop เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการตกแต่งภาพ
หัวใจสำคัญของ Photoshop คือ การทำงานเป็น “ Layer ”(ชั้นของรูปภาพ,ชั้นของวัตถุ)
แถบเครื่องมือของ Photoshop อยู่ในแถบเมนู Window
การเลือกกระดาษ File - New - ตั้งค่าความกว้าง(width) ความยาว(height)


Mode : Bitmap - สีปกติ
Grayscale - สีเทา
RGB Color - เป็นสีของแสง เมื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์
CMYK - ใช้ในการพิมพ์
**การขยายขนาดกระดาษ Ctrl + การลดขนาดกระดาษ Ctrl –
**การลบเส้นปะสี่เหลี่ยม(Rectangular Marquee Tool)
1. เอาเครื่องหมาย Select ไปคลิกที่เส้นปะเส้นเดิม
2. Select – Deselect (Ctrl D)
**การลากเส้นปะวงกลม(Elliptical Marquee Tool)
1. เลือกเครื่องหมาย Elliptical Marquee Tool จากรูปภาพ Rectangular Marquee Tool
2. เลื่อนตำแหน่งวงกลม ใช้ Arrow key
**การใช้ Move tool เพื่อ copy
1. ใช้ Move tool
2. Edit – copy
3. Edit – paste
4. Ctrl T
5. กด Shift ลากเมาส์ตรงมุม
6. Enter
หรือใช้ Edit – free transform เพื่อเปลี่ยนขนาดภาพ
**การย้อนกลับไปงานเดิม แก้ไขงานที่ผิดพลาด ยกเลิกคำสั่งสุดท้าย โดยใช้ History หรือ Edit – undo/step backward หรือ Ctrl Z
**การหันภาพกลับข้าง (จากซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย)
1. Ctrl T
2. คลิกเมาส์ลากภาพตามที่ต้องการ(จากซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย) พร้อมทั้งกด shift พร้อมไปด้วย
**การจัดระยะห่างระยะระหว่างบรรทัด
1. เลือกแถบเมนู “ รูปแบบ ”
2. เลือก “ ระยะห่างระหว่างบรรทัด ”
3. ตั้งค่าระยะห่างระหว่างบรรทัด 0.8 หรือ 0.85 แล้วแต่
ความเหมาะสม


วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชา นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้


ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชานี้ ได้แก่
  • การประดิษฐ์ตัวอักษรหัวเรื่องและเนื้อหา
  • สูตรสี 3 แบบ คือ โทนร้อน โทนเย็น สีตัดกัน/กลมกลืนกัน
  • หลักการออกแบบ
  • การเข้าสุ่เมนูต่างๆของคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีการหลายๆวิธี
  • การนำเสนองานด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint
  • การตกแต่งและตัดแต่งรูปภาพด้วยโปรแกรม Photoshop
  • เทคนิคลัดในการใช้คอมพิวเตอร์
  • การสร้าง Blog ส่วนตัวเพื่อนำเสนอผลงานจากการเรียนวิชานี้

Good tips

เทคนิคตกแต่งภาพด้วย Photoshop น่าสนใจ ที่เรานำมาฝากคุณๆกัน...

เทคนิคการแต่งภาพ"เกล็ดหิมะโปรยปราย"ด้วยการใช้ filter

เป็นการทำเอฟเฟ็คหิมะตกเพื่อสร้างบรรยากาศใหม่ให้กับภาพถ่าย ตลอดจนสามารถใช้สร้างสายฝนที่ชุ่มฉ่ำได้ด้วย

1. สร้างรูปภาพใหม่ให้มีความกว้างและความสูงเท่ากับรูปที่ต้องการใส่เอฟเฟ็คท์หิมะตก สำหรับโหมดสีกำหนดเป็น RGB Color และพื้นหลังเป็น White
2. สร้างจุดสีแบบสุ่ม โดยเลือกคำสั่ง Filter > Noise > Add Noise กำหนด Amount เป็น 12 % พร้อมทั้งเลือกออปชั่น Gaussian และ Monochromatic 3. แปลงจุดสีเทาให้เป็นจุดดำอย่างชัดเจน โดยเลือกคำสั่ง Image > Adjustments >Threshold พร้อมทั้งปรับค่า Threshold Level ให้ได้จุดทีมีความหนาแน่นตามประมาณเกล็ดหิมะที่ต้องการ
4. กลับสีเกล็ดหิมะจากดำให้เป็นขาว โดยเลือกคำสั่ง Image > Adjustments > Invert
5. ตะแคงรูป โดยเลือกคำสั่ง Image > Rotate Canvas > 90 องศา CW
6. ทำให้เกล็ดหิมะมีการเคลื่อนที่โดยเลือกคำสั่ง Filter > Stylize > Wind เลือกออปชั่น Wind และ From the Right
7. ตะแคงรูปกลับ โดยเลือกคำสั่ง Image > Rotate Canvas > 90 องศา CWเลือกรูปภาพทั้งรูปโดยกดคีย์ ctrl + vเปิดไฟล์รูปภาพที่ต้องการใส่เอฟเฟ็คท์หิะตก แล้วกดคีย์ ctrl + v ภาพเกล็ดหิมะจะปรากฏอยู่ใน Layer 1 ทับรูปเดิม
8. เลือก Blending mode ของ Layer 1 เป็น Screen และปรับค่า Opacity ตามความเหมาะสมเพื่อให้ได้ลักษณะเกล็ดหิมะที่สมจริง
9. ใส่ผลของทิศทางลมโดยเลือกคำสั่ง Filter > Distort > Shear คลิกที่ด้านล่างสุดของเส้นแล้วลากไปทางซ้ายพอประมาณ เลือกออปชั่น Wrap Around

การสร้าง Blog

การสร้าง Blog
ลองมาสัมผัสดู การสร้าง Blog ไม่ได้ยากอย่างที่คุณคิด ทดลองใช้ด่วนที่ www.blogger.com
1.การสร้าง blogger เข้าไปที่ http://www.blogger.com/ จะเกิดหน้าต่างขึ้นคลิกที่แถบลูกศรสีส้ม create your blog now
2.เกิดหน้าต่าง ขั้นที่ 1 create account พิมพ์รายละเอียดต่างๆให้ครบกด continue
3.เกิดหน้าต่าง ขั้นที่ 2 name your blog พิมพ์รายละเอียดต่างๆให้ครบกด continue
4.เกิดหน้าต่าง choose a template เพื่อเลือกลวดลายของหน้าต่างที่เราจะใช้เป็น web page มี 12 ลายให้เลือก เมื่อเลือกได้แล้วก็คลิก continue
5.หลังจากนั้นจะเกิดหน้าต่าง your blog has been created คลิก start postingเพื่อเริ่มสร้าง blog ตอนนี้ก็ถือว่าเสร็จสิ้น การสร้าง blogger แล้ว เพื่อนๆๆสามารถทำได้อย่างง่ายๆโดยวิธีตามนี้ แล้วจะกับโลกใบใหม่ที่รอให้คุณเข้าไปสัมผัส